“พิราบน้อย” ครั้งที่ 21
การอบรมเชิงปฏิบัติการที่เป็นมากกว่าเพียงการอบรมเชิงปฎิบัติการทั่วไป
หากจะพูดถึงการอบรมเกี่ยวกับงานวารสานและการทำข่าว
ชื่อของค่ายพิราบน้อยที่จัดขึ้นโดยองการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยย่อมต้องขึ้นมาเป็นชื่ออันดับต้นๆ
เพราะถือเป็นค่ายที่จัดขึ้นมาอย่างยาวนานและมีการพัฒนาเนื้อหารวมทั้งวิธีการจัดกิจกรรมใหม่ๆภายในค่ายทุกๆปี
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 61 มีพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพิราบน้อย
อันเป็นค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยนักศึกษาที่ผ่านโครงการการอบรมพิราบน้อยเข้าร่วมพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการนักข่าว
“พิราบน้อยรุ่นที่ 21” ณ ตึก ทรู ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานครฯ โดยมีการลงทะเบียนตั้งแต่เวลา
7.30 น. พร้อมรับป้ายชื่อนักข่าวพิราบน้อย และมีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น
5 สี ได้แก่ สีแดง สีชมพู สีส้ม สีฟ้า และสีน้ำเงิน โดยแต่ละกลุ่มมีพี่เลี้ยง 1 คน ซึ่งเป็นนักข่าวที่จะคอยให้คำแนะนำทางด้านการทำข่าวและเรื่องอื่นๆตลอดเวลาที่นักศึกษาอยู่ในค่าย
หลังจากฟังบรรยายและร่วมถ่ายภาพในพิธีเปิดนักศึกษาและพี่ๆค่ายก็เดินทางไปโรงแรมกรุงศรีริเวอร์
จ.อยุธยา เพื่อรับประทานอาหารเที่ยง และเปลี่ยนชุดเป็นชุดลำลองเพื่อเข้าอบรมนักข่าวพิราบน้อยกับพี่ๆนักข่าวที่สลับสับเปลี่ยนกันมาเป็นวิทยากร
ให้ความรู้ในเรื่องของการทำข่าวในแง่ต่างๆ,การถ่ายรูป
และจรรยาบรรณในการทำข่าว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งให้คะแนนจากการการตรงต่อเวลา
และการตอบคำถามต่างๆ
ในการอบรมวันแรกนี้ได้มีการจำลองเหตุการณ์ที่ผู้เข้าอบรมไม่รู้มาก่อน
โดยเป็นการการจำลองการเข้าจับกุมการค้ามนุษย์ที่มีการเปิดร้านนวดแผนไทยเป็นกิจการบังหน้า
เมื่อเสร็จสิ้นการจำลองเหตุการณ์พี่ๆได้ยกตัวอย่างการกระทำต่างๆที่นักศึกษาทำเพื่อแนะนำเกี่ยวกับจริยธรรมและการกระทำที่ผิดหลังจรรยาบรรณของนักข่าว
ทั้งด้านการถ่ายภาพและการเขียนข่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่นักข่าวควรที่จะคำนึงถึงตลอดเวลาในการทำงาน
ต่อมาได้ให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่มเลือกบก.และรองบก.เพื่อทำหน้าที่ในการลงพื้นที่ทำข่าวที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้
คืนนั้นมีการสอนเกี่ยวกับการหาประเด็นการทำข่าวที่ไม่ซ้ำกับใครและไม่ใช่สิ่งที่มีการทำไปก่อนแล้ว
และสอนทำ Pre-production ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการทำงานข่าวที่ประกอบด้วย
1.Pre-Production 2.Production 3.Post-Production อย่างละเอียด
โดยให้เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลและหาจุดอ่อนของข่าวที่มีการนำเสนอไปแล้ว
จุดอ่อนคือแง่มุมของข่าวนั้นๆที่ยังไม่มีใครนำเสนอเพื่อที่เราจะได้นำสิ่งนั้นไปเขียนเป็นสมมุติฐานในขั้นต่อไป
สมมุติฐาน คือ สิ่งที่เราคิดว่าเราจะได้เจอหากเราลงไปทำข่าวตามจุดอ่อนที่เราหาพบในขั้นตอนแรก
และจะต้องเป็นไปในทางเดียวกันกับจุดอ่อนนั้นๆ
ข้อสำคัญของสมมุติฐานก็คือสมมุติฐานต้องไม่ใช่คำถาม
แต่ต้องเป็นประโยคบอกเล่าเท่านั้น
เมื่อเราได้สมมุติฐานมาแล้วเราก็จะรู้ได้เองว่าเราควรที่จะไปหาแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
เพื่อให้ข่าวของเรานั้นออกมารอบด้านและเจาะลึกมากพอ
และสุดท้ายส่วนที่สี่นั่นก็คือการกำหนดคำถาม ในส่วนนี้หากเรากำหนดแหล่งข่าวได้แล้ว
เราก็จะสามารถกำหนดคำถามได้ง่ายเช่นกัน
เพราะเมื่อเราทราบว่าใครคือแหล่งข่าวและเขาทำหน้าที่อะไร
และจะให้ข้อมูลอะไรแก่เราในประเด็นที่เราต้องการ เราก็จะสามารถกำหนดคำถามได้อย่างง่ายดาย
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหาจุดอ่อนของข่าวนั้นๆให้พบและคิดหาสมมุติฐานให้ได้
เพื่อที่จะได้ทำส่วนอื่นๆได้ง่ายนั่นเอง โดยการทำ pre-production นี้ ถ้าหากเราทำอย่างรอบด้านและรอบคอบ
จะทำให้การทำข่าวของเรานั้นเสร็จไปแล้วกว่า 60% เลยทีเดียว
เพราะเมื่อเป้าหมายของเราชัด
การลงพื้นที่เพื่อเก็บภาพและสัมภาษณ์ก็จะเป็นไปอย่างเรียบร้อยและรวดเร็วนั่นเอง
ในวันที่ 2
เราเริ่มลงพื้นที่อยุธยากันตั้งแต่ช่วงสายๆ ในกลุ่มสีส้มของดิฉันเลือกประเด็นเรื่อง
‘โบราณสถาน’ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอยุธยา
และยังเป็นหนึ่งในมรดกโลกอีกด้วย เราต้องทำทั้งหมดทั้งหมด 4 ประเด็น คือ 2
ประเด็นใหญ่ และ 2 ประเด็นต่อยอด มีเวลาให้ตั้งแต่ช่วง 11:00 น. ถึง 16:00 น.
โดยประมาณ ประเด็นใหญ่ที่เราเลือกคือ 1.ยูเนสโก้ การเป็นมรดกโลกดีอย่างไร
และถ้าหากอยุธยาหลุดออกจากการเป็นมรดกโลกจะแย่อย่างไร และ 2.เรื่องหาบเร่-แผงลอย
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้อยุธยาอาจหลุดจากการเป็นมรดกโลก ประเด็นต่อยอด 2 ประเด็นคือ
1.การดูแลโบราณสถาน
เจ้าหน้าที่ที่น้อยจนเกินไปทำให้ไม่สามารถดูแลโบราณสถานได้อย่างคลอบคลุมหรือไม่
และ 2.ความเชื่อคือสิ่งสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่กล้าที่จะขโมยของในโบราณสถาน
โดยทั้ง 4 ประเด็นนี้ เราจะต้องทำควบคู่ไปกับการทำ Live
facebook และการเก็บภาพเพื่อที่จะกลับมาทำ VDO เกี่ยวกับโบราณสถานและประเด็นที่เราทำทั้ง 4 เรื่องด้วย
หลังจากลงพื้นที่กันอย่างรวดเร็วและพยายามเก็บข้อมูลทั้งหมดให้ได้ครบตามที่วางแผนเอาไว้ก็เดินทางกลับโรงแรม
เพื่อมาพูดคุยกันต่อ ถึงข้อมูลและสิ่งที่ลงพื้นที่มาได้ ว่าได้ครบหรือไม่อย่างไร
เพื่อวางแผนการลงพื้นที่ต่อในวันพรุ่งนี้ ปัญหาที่เราพบคือ เราพบว่าสมมุติฐานที่เราวางเอาไว้นั้นไม่ตรงกับความเป็นจริงในพื้นที่ที่เราได้ลง
ทำให้ต้องเปลี่ยนสมมุติฐานใหม่ถึง 3 ครั้ง ด้วยกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอนเกี่ยวกับสมมุติฐานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เนื่องจากพี่เลี้ยงและพี่วิทยากรเห็นว่าสมมุติฐานที่เสนอนั้นไม่เหมาะสมและไม่ผ่านการพิจารณาของพี่ๆ
คืนนั้นจึงต้องกลับห้องและไปรวมตัวกันที่ห้องของเพื่อนเพื่อคิดหาข้อสรุปกันจนถึงเวลา
4:00 น. แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดอยู่ดี
วันที่ 3 สมมุติฐานที่เปลี่ยนมาตลอดได้ข้อสรุปในเช้าวันนั้นนั่นเอง
หลังจากนั้นช่วงสายๆเราก็ลงพื้นที่กันอีกครั้ง เพื่อเก็บภาพและวิดีโอเกี่ยวกับพื้นที่ภายในข่าวทั้ง
4 ข่าว และยังเริ่มการถ่ายเปิดกล้องและปิดกล้อง
เพื่อนำมาตัดต่อทำคลิปวิดีโอที่จะต้องส่งเป็นชิ้นสุดท้าย แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อเวลาหมดลงและเรายังทำวิดีโอไม่เสร็จส่งผลให้พี่ๆไม่พอใจมากและกล่าวโทษไว้ว่าจะให้เวลาอีกครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
และถ้าหากทุกๆกลุ่มไม่เสร็จก็ต้องกลับบ้านกันทั้งหมด
เราทั้งหมดรีบทำงานกันในทันทีที่พี่ๆอนุญาต
เวลาผ่านไปรวดเร็วมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โชคดีที่พวกเราทำเสร็จทันเวลา
และยังสามารถไปช่วยเหลือกลุ่มอื่นๆได้อีกด้วย
หมดเวลาทุกกลุ่มทำเสร็จเรียบร้อยทันเวลาอย่างฉิวเฉียด พี่ๆกล่าวชื่นชมที่สามารถทำได้ทันเวลาที่ให้เพิ่มไปและกล่าวถามว่าทำไมเราถึงได้ทำได้ทันทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นไม่มีทีท่าว่าจะทำทันเลยแม้แต่น้อยและให้ผู้เข้าอบรมได้เสนอความคิดเห็นในคำถามดังกล่าว
ก่อนจะให้เรานอนเป็นเวลา 40 นาที เมื่อไฟเปิดก็มีการกล่าวจบการทำงานในวันนั้น
และนัดมาเจอกันอีกครั้งตอน 19:00 น. พร้อมให้เราคิดการแสดงที่จะต้องแสดงในคืนนี้
เราตกลงกันว่าจะแสดงเพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายโดยให้ผู้ชายในกลุ่มขึ้นไปเต้นทั้งหมด
3 คน ในชื่อวง ORG48 และให้เพื่อนผู้หญิงเล่นเป็นแฟนคลับของเพื่อนๆผู้ชายที่เต้นอยู่บนเวที
กลุ่มเราได้แสดงเป็นกลุ่มแรกได้รับเสียงปรบมือและเสียงหัวเราะจากเพื่อนร่วมค่ายและพี่ๆอย่างคับคั่งเพราะเลือกใช้เพลงคุ้กกี้เสี่ยงทายในแบบเสียดสีการเมือง
หลังจากนั้นทุกกลุ่มก็ทำการแสดงของกลุ่มตัวเอง มีการเฉลยบัดดี้และโมนิโต้ และมีการร้องคาราโอเกะกระทั่งเวลา
23:00 น. ก็แยกย้ายกันกลับเข้าห้อนนอน
วันสุดท้ายมีการประกาศผู้ชนะเรียงความในหัวข้อ“สื่อมวลชนแบบไหนที่สังคมต้องการ”
และประกาศกลุ่มที่ชนะสันทนาการและการทำข่าว ซึ่งสีส้มสีชนะไปทั้งสองรายการ ต่อมาจึงเป็นพิธีปิด
โดย นางวิภาดา อิศระ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร และประชาสัมพันธ์
การตลาด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน เป็นประธานกล่าวปิดงาน โดยท่านได้ให้ข้อคิดสำหรับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
ยินดีที่ได้ให้การสนับสนุนค่ายพิราบน้อยมา21ปีแล้วและยินดีที่จะให้การสนับสนุนต่อไปหวังว่าน้องๆที่ผ่านการอบรมที่เป็นพิราบน้อยในวันนี้
จะเป็นพิราบใหญ่ที่มีคุณภาพให้กับวงการสื่อมวลชนต่อไป
โดยพี่เบล
บุศรินทร์ วรสมิทธิ์ ประธานค่ายพิราบน้อยครั้งที่ 21 ได้กล่าวปิดค่ายพิราบน้อยโดยมีใจความสำคัญโดยสรุปได้ว่า “อยากให้น้องๆนักศึกษาจำบรรยากาศค่ายตลอด 4 วันนี้ไว้
ไม่ว่าเรียนจบแล้วจะเข้ามาเป็นนักข่าวหรือไม่ได้เป็นนักข่าว
ก็ขอให้นำสิ่งที่วิทยากรได้แนะนำไปปรับใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคตด้วยความเป็นมืออาชีพ”
อย่างไรก็ตามแม้ว่าค่ายพิราบน้อยครั้งที่
21 จะสิ้นสุดลงแล้ว แต่นักศึกษาที่เข้าร่วมก็ยังมีภารกิจที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างนั่นก็คือ
การทำข่าวในพื้นที่ของตัวเองเพื่อส่งแก่พี่ๆโครงการพิราบน้อย เพื่อชิงเงินรางวัลกว่า
3,000 บาท และยังเป็นการส่งเพื่อยืนยันโควตาเข้าร่วมอบรมพิรายน้อยปีที่
22 ให้กับรุ่นน้องรุ่นต่อไปอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น